www.doujin.com

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

คนเก็บขยะ อาชีพทรงคุณค่าในภาวะโลกร้อน

อาชีพเก็บขยะ เก็บขวดน้ำพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋องน้ำ รับซื้อของเก่า


อาชีพเก็บเก็บขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋อง รับซื้อของเก่าและรับซื้อขยะ นอกจากจะเป็นอาชีพทำเงินที่น่าสนใจแล้ว พวกเขาเหล่านี้มักจะมีสำนักงานอยู่ที่บ้านหรือสร้างเป็นโรงรับซื้อขยะเอง และของเก่าหรือขยะเหล่านี้ก็สามารถนำมารีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ได้ บางที่ก็จะเป็นแบบธุรกิจครอบครัว มีรถกระบะวิ่งรับซื้อของเก่าตามหมู่บ้านทั่วๆ ไป แต่บางคนที่เขามีเงินเยอะหน่อย ก็ทำเป็นแบบธุรกิจขนาดใหญ่มีโรงแยกขยะต่างหาก มีพนักงานจำนวนมาก พอแยกขยะแล้วก็ส่งขยะให้บริษัทที่รับซื้อขยะเหล่านี้นำไปรีไซเคิล แล้วก็นำกลับมาใช้บรรจุภัณฑ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง รถที่วิ่งรับซื้อของเก่าหรือรับซื้อขยะตามหมู่บ้านโดยทั่วไปแล้ว ก็จะนำขยะมาขายให้กับโรงรับซื้อขยะขนาดใหญ่นี้เป็นจำนวนมาก และเราก็มักจะเห็นรถรับซื้อของเก่าและรับซื้อขยะอยู่เป็นประจำ เพราะสามารถสร้างรายได้และเป็นอาชีพที่อิสระไม่ต้องมีใครคอยสั่งให้เราทำโน่นนี่ ถ้าเรามีความขยันหน่อยบวกกับความอดทนอีกนิด รับรองได้เลยว่าอาชีพรับซื้อขยะและรับซื้อของเก่านี้ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวอย่างมากมายเลยทีเดียวค่ะ
ขยะมูลฝอยล้นเมืองเป็นปัญหาที่ทั่วโลกต้องพบเจอ และประเทศไทยของเราเองก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ต้องเจอกับปัญหาขยะล้นเมืองเช่นเดียวกัน เพราะมีประชากรเป็นจำนวนมาก การซื้อขาย การผลิตสินค้าและการบริโภคก็มากขึ้นตามจำนวนของประชากรในประเทศ ซึ่งบางประเทศก็จะมีวิธีจัดการกับปัญหาเศษขยะล้นเมืองกันหลายวิธี และถึงแม้ว่าประเทศของเราจะยังไม่มีมาตรการที่แน่ชัดในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้แต่ก็มีวิธีการแยกขยะที่ทำให้ง่ายต่อการเก็บ และง่ายต่อผู้ที่ทิ้งขยะ นั่นคือการทำถังขยะแยกประเภท นอกจากจะทำให้ง่ายต่อการทิ้งแล้วพนักงานเก็บขยะก็ง่ายต่อการทำงานด้วยค่ะ

อาชีพเก็บขยะ ขวดน้ำพลาสติก  เก็บขยะขายหลังน้ำท่วม

อาชีพเก็บขยะขายเป็นอาชีพที่ไม่ต้องลงทุน แต่ก็ต้องระวังเรื่องโรคภัยที่อาจจะมาจากการเก็บขยะ แต่งานเก็บขยะก็ไม่ต้องมีใครมาคอยกำหนดปริมาณงานให้น่ารำคาญใจ ไม่ต้องมีเจ้านายมายืนคุมงาน คอยสั่งงาน เป็นอาชีพที่คอยหล่อเลี้ยงคนจนให้มีรายได้มาจุนเจือครอบครัวและเป็นหนึ่งในอาชีพสุจริตที่มีส่วนช่วยลดสภาวะโลกร้อนอีกด้วย เพราะอาชีพเก็บขยะขายเป็นการลดปริมาณขยะที่มีอยู่เป็นจำนวนมากให้ลดลง แต่คนเก็บขยะขายก็เป็นแรงงานนอกระบบ ไม่มีสวัสดิการทางสังคมและสิทธิประโยชน์เทียบเท่ากับอาชีพอื่นๆ เพราะพวกเขามีระดับการศึกษาไม่สูง ไม่มีงานทำ พวกเขาจึงต้องผันตัวเองมาประกอบอาชีพเก็บขยะ แต่ส่วนมากมักจะเคยเป็นชาวนา คนงานก่อสร้าง พนักงานขับรถ หรือลูกจ้างทั่วไปมาก่อน ก่อนที่จะมาประกอบอาชีพเก็บขยะ

พนักงานเก็บขยะผู้ที่ช่วยทำให้เมืองสะอาด

แต่ละประเทศก็จะมีพนักงานเก็บขยะที่จะคอยช่วยดูแลเรื่องของปริมาณขยะ เพราะถ้าเราไม่มีการจัดการกับปัญหาขยะพวกนี้อย่างจริงจัง ปัญหาที่ตามมาก็คือขยะล้นเมือง ทำให้บ้านเมืองสกปรกไม่น่าเข้าไปเที่ยวชม ส่งกลิ่นเหม็น และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนอีกด้วย พนักงานเก็บขยะก็เป็นปัจจัยสำคัญที่คอยช่วยดูแลปริมาณขยะ นอกจากจะมีพนักงานของรัฐบาลแล้ว ก็ยังมีบริษัทเอกชนที่เปิดให้บริการเรื่องของการเก็บขยะอีกเป็นด้วย พนักงานเก็บขยะแตกต่างจากคนเก็บขยะทั่วไป เพราะคนที่ทำงานเก็บขยะขายโดยทั่วไป จะไม่มีสวัสดิการเป็นงานอิสระแต่พนักงานเก็บขยะนั้นมีเงินเดือนให้ และบางบริษัทก็จะมีสวัสดิการต่างๆ ให้ แล้วแต่บริษัทนั้นๆ จะให้สิทธิประโยชน์ทางด้านสังคมอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น พนักงานเก็บขยะในต่างประเทศที่มีสวัสดิการดี และมีเงินเดือนดี เช่น อิตาลี่ เยอรมัน พนักงานเหล่านี้จะได้สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ทางสังคมที่ดีมาก เพรารัฐบาลของพวกเขาเอาใจใส่กับปริมาณของขยะที่มีมากขึ้นทุกวัน จึงต้องให้สวัสดิการและเงินเดือนทีสูง เพื่อที่จะให้มีผู้มาสมัครทำงานทางด้านนี้ให้มากๆ ค่ะ

เก็บขยะหลังน้ำท่วม เป็นอาชีพสร้างเสริมและสร้างรายได้อย่างงดงาม

หลังน้ำท่วมครั้งนี้ผ่านไป รับรองว่าขยะเกลื่อนเมืองแน่ๆ ค่ะ ในช่วงนี้เองที่เราจะถือโอกาสทำความดีไปพร้อมๆ กับการสร้างรายได้ หลังจากที่น้ำลดลงแล้ว ขวดพลาสติก ขวดแก้ว โลหะชนิดต่างๆ คงต้องมีมากมายแน่นอน คนเก็บขยะขายคงจะเก็บแทบไม่ทันเพราะขยะไหลมากับน้ำมีขยะอยู่แทบทุกที่บางทีเราไม่ต้องออกไปเก็บ ขยะก็ลอยมาติดหน้าบ้านให้เรานำไปขายได้ถึงที่เลยหละค่ะ แต่ถ้าเราช่วยกันเก็บขยะถึงเราไม่คิดจะนำไปขาย แต่ก็เป็นการช่วยทำความสะอาดบ้านเมือง และช่วยลดสภาวะโลกร้อนอีกด้วยค่ะ
การเก็บขยะขายอย่าง ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋องหลังน้ำท่วมนอกจากจะสร้างรายได้ในช่วงนี้แล้ว ยังเป็นการทำความดีในยามที่ประเทศเราต้องการความช่วยเหลือ แม้ว่าเราจะเป็นหนึ่งในความดีเพียงเล็กน้อย แต่เราก็จะภูมิใจที่ได้เป็นส่วนช่วยให้ประเทศของเรากลับมาน่าอยู่อีกครั้ง แต่ถ้าเราเก็บขยะแล้วนำไปขายในช่วงนี้ไม่รู้ว่าพวกรับซื้อขยะจะยังรับซื้ออยู่มั้ยนะ เพราะถ้าเรานำไปขายในพื้นที่น้ำท่วมเหมือนกัน ดิฉันคิดว่าเขาคงจะไม่รับซื้อหรอกค่ะ เพราะคงจะอพยพกันไปหมดแล้ว แต่ภายหลังน้ำลดแล้วจะต้องกลับมารับซื้อแน่นอนค่ะ

ผักสวนครัว

การปลูกคะน้า


          ผักคะน้า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียและปลูกกันมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย คะน้าเป็นผักที่นิยมปลูกและบริโภคกันมา โดยปลูกเพื่อบริโภคส่วนของใบและลำต้น อายุตั้งแต่หว่านหรือหยอดเมล็ดจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วัน ผักคะน้าเป็นผักสวนครัวที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่ปลูกได้ผลดี ที่สุดอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเมษายน

การเพาะกล้า

         1. การเตรียมแปลงเพาะ แปลงเพาะกล้าควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสม
         
2. การเตรียมดินบนแปลงเพาะกล้า ควรขุดไถพรวนดินอย่างดี ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ย่อยหน้าดิน ให้ละเอียด แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากับดินให้ทั่ว
         
3. การเพาะ หว่านเมล็ดให้กระจายสม่ำเสมอทั่วแปลง กลบเมล็ดด้วยดินหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้วให้หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ รดน้ำให้ชุ่มด้วยบัวรดน้ำ
         
4. การดูแลต้นกล้า ต้นกล้าจะงอกภายใน 7 วัน ควรดูแลต้นกล้า ถอนต้นที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรง หรือเบียดกันแน่นทิ้งไป ผสมสารละลายสตาร์ทเตอร์โวลูชั่นในน้ำแล้วนำไปรด เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ ดูแลป้องกันโรคแมลงที่เกิดขึ้น เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 25-30 วัน จึงทำการย้ายไปปลูกในแปลงปลูกต่อไป

วิธีการปลูก

         การปลูกคะน้านิยมปลูก 2 แบบ คือ
         1. แบบหว่านกระจายทั่วแปลง เหมาะสำหรับแปลงปลูกขนาดใหญ่ ทำเป็นการค้า
         2. แบบแถวเดียว เหมาะสำหรับแปลงปลูกขนาดเล็กหรือผักสวนครัว เตรียมดินโดยการใช้แรงงานคนให้น้ำโดยใช้บัวรดน้ำ
         
ระยะปลูก ควรให้มีระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 20 X 20 เซนติเมตร
         การเตรียมแปลงปลูก มีวิธีการดังนี้
         1. ขุดดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร
         2. ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน
         3. นำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วมาใส่ คลุกเคล้าให้เข้ากับดินเป็นการปรับปรุงสภาพทางกายภาพและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
         4. พรวนย่อยหน้าดินให้มีขนาดเล็ก โดยเฉพาะการปลูกแบบหว่านลงในแปลง เพื่อไม่ให้เมล็ดตกลงไปในดิน เพราะจะไม่งอกหรืองอกยากมาก
         5. ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม

         ในการปลูกคะน้านิยมหว่านเมล็ดลงบนแปลงปลูกโดยตรงมากกว่าย้ายกล้า โดยมีขั้นตอนดังนี้
         1. หว่านเมล็ดให้กระจายทั่วทั้งผิวแปลงโดยให้เมล็ดห่างกันประมาณ 2-3 เซนติเมตร
         2. ใช้ดินผสมหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้วหว่านกลบเมล็ดให้หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร เพื่อเก็บรักษาความชื้นและป้องกันเมล็ดถูกน้ำกระแทกกระจาย
         3. คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ
         4. รดน้ำให้ทั่วถึงและสม่ำเสมอ ต้นกล้าจะงอกภายใน 7 วัน
         5. หลังจากต้นคะน้างอกแล้วประมาณ 20 วัน หรือต้นสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ให้เริ่มถอนแยก โดยเลือกต้นที่ไม่สมบูรณ์ออก ทิ้งระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 10 เซนติเมตร ต้นอ่อนของคะน้าที่ถอนแยกออกมาในวัยนี้เมื่อเด็ดรากออกแล้วส่งขายตลาดเป็นยอดผักได้
         6. เมื่อคะน้ามีอายุประมาณ 30 วัน ให้ถอนแยกครั้งที่ 2 ให้เหลือระยะห่างระหว่างต้น 20 เซนติเมตรต้นอ่อนของคะน้าที่ถอนแยกออกมาในวัยนี้เมื่อเด็ดรากออก แล้วส่งขายตลาดเป็นยอดผักได้
         7. ในการถอนแยกคะน้าแต่ละครั้งควรกำจัดวัชพืชไปด้วย

การให้น้ำ


         1. คะน้าต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เนื่องจากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรปลูกในแหล่งที่มีน้ำอย่างเพียงพอ
         2. การให้น้ำให้ใช้ฝักบัวฝอยรดให้ทั่วและให้ชุ่ม ในเวลาเช้าและเย็น

การใส่ปุ๋ย


         คะน้าต้องการปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง อาจใส่ปุ๋ยสูตร 12-8-8 หรือ 20-11-11 ในอัตราประมาณ 100 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและปริมาณปุ๋ยคอกที่ใช้โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ หลังจากถอนแยกครั้งแรกและหลังจากถอนแยกครั้งที่ 2

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

         อายุการเก็บเกี่ยวของคะน้าอยู่ที่ประมาณ 45-55 วันหลังปลูก คะน้าที่ตลาดต้องการมากที่สุดคือ คะน้าที่มีอายุ 45 วัน แต่คะน้าที่มีอายุ 50-55 วัน เป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้น้ำหนักมากกว่า วิธีการเก็บเกี่ยวคะน้าทำได้ดังนี้
         1. ใช้มีดคมๆ ตัดให้ชิดโคนต้น
         2. ตัดไล่เป็นหน้ากระดานไปตลอดทั้งแปลง
         3. หลังตัดแล้วบางแห่งมัดด้วยเชือกกล้วยมัดละ 5 กิโลกรัม บางแห่งก็บรรจุเข่ง แล้วแต่ความสะดวกในการขนส่ง
         การเก็บเกี่ยวคะน้าให้ได้คุณภาพดี รสชาติดี และสะอาด ควรปฏิบัติดังนี้
         1. เก็บในเวลาเช้าดีกว่าเวลาบ่าย
         2. ใช้มีดเล็กๆ ตัด อย่าเก็บหรือเด็ดด้วยมือ
         3. อย่าปล่อยให้ผักแก่เกินไป
         4. หลังเก็บเกี่ยวเสร็จควรนำผักเข้าที่ร่ม วางในที่โปร่งและอากาศเย็น
         5. ภาชนะที่บรรจุผักควรสะอาด